เมนู

รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ฯลฯ
กายายตนะ ฯลฯ
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย.

11. ปัจฉาชาตปัจจัย


[105] 1. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่
เจตสิก ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ

2. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่
เจตสิก ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ

3. ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก
เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย
ฯลฯ


12. อาเสวนปัจจัย


[106] 1. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็น
เจตสิก ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย

13. กัมมปัจจัย


[107] 1. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็น
เจตสิก ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย
มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาเจตสิก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของ
กัมมปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาเจตสิก เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมม-
ปัจจัย.
2. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่
เจตสิก ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาเจตสิก เป็นปัจจัยแก่จิต และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย
อำนาจของกัมมปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาเจตสิก เป็นปัจจัยแก่จิตที่เป็นวิบาก และกฏัตตารูปทั้งหลาย
ด้วยอำนาจกัมมปัจจัย.
3. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็น
เจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย